Rubber and Cocoon การใช้ยางพารา และ รังไหม เป็นวัสดุปลูกแทนฟองน้ำและดิน

การผลิตรังไหมอีรี่

ไข่ไหมอีรี่ 10กรัม จะได้ไหมสด10กิโลกรัม
1.รังไหม5,000รัง น้ำหนักประมาณ1.45กิโลกรัม 
2.ดักแด้ 5,000ตัว น้ำหนักประมาณ 8.55กิโลกรัม

กินใบมันสำประหลัง ประมาณ100กิโลกรัม 
เด็ดใบประมาณ30% คือ300กิโลกรัม จากต้นมันสำปะหลัง1,600ต้น/1,600ตรม.(1ไร่)

 ใช้เวลาเลี้ยง15-18วัน (ไหมหม่อนเลี้ยงนานกว่า และเลี้ยงติดต่อกันไม่ได้)


ไหมอีรี่ eri silk, Philosamia ricini
เป็นผีเสื้อกลางคืนในอันดับ Lepidoptera วงศ์ Saturniidae 

 มีวงจรชีวิต 45-60 วัน
ประกอบด้วยระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อ
เป็นไหมชนิดฟักตลอดปี (polyvoltine) 
ลำตัวจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองเมื่อพร้อมจะเข้าดักแด้

ลอกคราบ 4 ครั้งก่อนเข้าดักแด้ 
ส่วนหัวของไหมวัยหนึ่งและสองจะเป็นสีดำ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองโดยมีบริเวณสีดำที่แก้ม
เมื่อถึงวัยสี่และห้า ตัวหนอนมีสีขาว ที่ปล้องอกและท้องแต่ละปล้องมีหนาม 4-6 อันเรียงเป็นแถว
 ในวัยที่ห้าหนอนไหมจะกินอาหารมากและตัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว 
ตัวหนอนโตเต็มที่จะมีขนาดยาว 90-100 มิลลิเมตร 
ก่อนจะเข้าดักแด้หนอนไหมจะหยุดกินอาหาร และถ่ายของเสียออกจนหมดกระเพาะ 
แล้วตัวหนอนจะเริ่มเดินไปมาเพื่อหาที่เหมาะสมต่อการทำรังเข้าดักแด้ 
ซึ่งมักเป็นตามซอกมุมที่หลบซ่อนได้จากนั้นจะเริ่มทำรังหุ้มตัวเอง
การคายสารออกมาจากต่อมสร้างเส้นใย (silk gland)
เมื่อถูกอากาศจะแข็งตัวเป็นเส้นใย รังหุ้มตัวเอง 
หนอนไหมจะใช้เวลาทำรังเสร็จภายใน 3 วัน
ตัวหนอนจะพักอยู่ภายในรังและเริ่มเข้าดักแด้
ประมาณ10-14 วันต่อมาผีเสื้อจะออกจากดักแด้
ผีเสื้อไหมอีรี่มีขนาดใหญ่ เมื่อกางปีกเต็มที่จะยาวถึง 4-5 นิ้ว
 ปีกมีสีน้ำตาลดำและมีเส้นขวางกลางปีกสีขาว 
ตรงกลางของแต่ละปีกจะมีรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวสีเหลืองขาวตัดขอบด้วยสีดำสวยงามมาก

ส่วนท้องของตัวผู้จะเล็กกว่าตัวเมีย
การผสมพันธุ์จะเริ่มขึ้นหลังจากผีเสื้อออกจากดักแด้ไม่นาน 
ตัวเมียจะวางไข่ตอนกลางคืน และอาจวางไข่ได้ 2-3 คืน
 ผีเสื้อไม่บินและไม่กินอาหาร

ไหมอีรี่สามารถเลี้ยงได้ตลอดปีประมาณ 4-5 รุ่นต่อปี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ เลี้ยงได้ทั้งในที่สูงและที่ราบ 

และที่อุณหภูมิตั้งแต่ 25 ถึง 45o C (Sarkar, 1988)

  วิธีการและขั้นตอนการผลิตฟองน้ำยางพารา


1.การตรวจสอบถังหมักน้ำยางและเครื่องปรับอากาศให้ความเย็นน้ำยาง

2.การควบคุมอุณหภูมิ19-23องศาเซลเซียสในถังหมักน้ำยาง 

3..ใส่น้ำยางคุณภาพสูงลงถังหมัก

4.นำน้ำยางใส่ลงถั่งปั่น 1ถังปริมาณ10กิโลกรัม ทำหมอนยางพารา ได้4ใบ

5.การทำความสะอาดหัวป้นน้ำยาง

6.การชั่งส่วนผสมด้วยสูตรเฉพา

7.การเติมส่วนผสมให้น้ำยางมีความนุ่มยืดหยุ่นและคงตัวได้ดีไม่ยุบ มากกว่า10ปี

8.การเทน้ำยางลงในบล็อคหมอนยางพาราและการปิดฝาบล็อคให้แน่นสนิท


9.การทำความสะอาดบล็อคหมอนยางพารา


  10.การนำบล็อคหมอนยางพาราเข้าและออกจากเตาอบสุก90องศาเซลเซียส


11.การนำหมอนยางพาราที่สุกแล้ว ลงถังล้างทำความสะอาด


12.การล้างน้ำให้สะอาด3รอบ



13.การล้างและรีดน้ำออก


14.การปั่นแห้ง


15.การอบแห้งที่70องศาเซลเซียสและ การวางบนชั้นผึ่งลมให้แห้ง


16.การตรวจสอบความชื้นหลังผึ่งลมให้แห้ง


17.การตัดแต่ง เศษที่ได้นำมาใช้แทนฟองน้ำสังเคราห์










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น